ค้นหา :

อปท.เลย หนุนสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน มีน้ำใช้ช่วงแล้ง ช่วยระบายน้ำท่วมขัง ประหยัดงบประมาณสร้างรางระบายน้ำ
อปท.เลย หนุนสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน มีน้ำใช้ช่วงแล้ง ช่วยระบายน้ำท่วมขัง ประหยัดงบประมาณสร้างรางระบายน้ำ
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเลย
วันที่ข่าว : 7 กันยายน 2561
อปท.เลย หนุนสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน มีน้ำใช้ช่วงแล้ง ช่วยระบายน้ำท่วมขัง ประหยัดงบประมาณสร้างรางระบายน้ำ
วันที่ 7 กันยายน 2561 ที่ห้องประชุมชั้น5 ศาลากลางจังหวัดเลย นายสำราญ ด่างดี ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดเลย เป็นประธานเปิดการประชุม เพื่อขยายผลโครงการองค์กรปกครองท้องถิ่น ต้นแบบจัดการน้ำตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ธนาคารใต้น้ำ) มีปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง นายช่างโยธา และพนักงาน เข้าร่วมประชุม โดยมีนายพีรพจน์ หมื่นหาวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสี อ.เชียงคาน จ.เลย เป็นวิทยากร บรรยาย
นายพีรพจน์ หมื่นหาวงศ์ นายก อบต.นาสี เปิดเผยว่า ธนาคารน้ำใต้ดิน คือการนำน้ำไปเก็บที่ชั้นใต้ดินในชั้นหินอุ้มน้ำ เหมือนกับเวลาที่เราได้โบนัสแล้วคุณฝากเงินไว้กับธนาคาร วันไหนที่เดือดร้อนเรื่องเงิน คุณก็สามารถนำเงินที่เก็บออมไว้มาใช้ได้ ซึ่งธนาคารน้ำใต้ดินก็เหมือนกัน ช่วงหน้าฝนที่มีน้ำมากธนาคารน้ำใต้ดินจะช่วยดูดซับน้ำ เพื่อนำไปกักเก็บไว้ที่ชั้นหินอุ้มน้ำ เมื่อถึงช่วงเวลาฤดูแล้ง คุณก็สามารถสูบน้ำมาใช้ได้ ธนาคารน้ำใต้ดินจะมี 2 ประเภท คือธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดและธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด ถ้าทำธนาคารน้ำใต้ดินทั้ง 2 ประเภทควบคู่ไปด้วย ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ธนาคารน้ำใต้ดินใช้หลักการขุดบ่อ เพื่อส่งน้ำไปเก็บไว้ที่ชั้นน้ำบาดาลขนาดและความลึกของบ่อขึ้นอยู่กับสภาพและชั้นดินของแต่ละพื้นที่ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ขุดบ่อให้ลึกถึงชั้นต้มน้ำ ชั้นหินอุ้มน้ำจากนั้นใส่ยางรถยนต์เพื่อป้องกัน ขอบบ่อพังทลาย 2.จากนั้นใส่วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ เช่น ขวดน้ำ ใส่น้ำ 1 ใน 3 ส่วน ท่อนไม้หรือเศษปูนให้เต็มช่องว่างด้านนอกยางรถยนต์ 3.นำท่อ PVC มาวางตรงกลางบ่อเพื่อเป็นช่องระบายอากาศ นำวัสดุชิ้นเดียวกับที่ใส่ช่องว่างด้านนอก มาเติมใส่ช่องว่างด้านในให้เต็ม 4. คลุมผ้าด้วยผ้าไนลอนแล้วทับด้วยก้อนหินและตามด้วยหินละเอียดอีกทีหนึ่ง เพื่อเป็นตัวกรองให้เศษดินหรือขยะไม่ให้เข้าไปอุดตันในบ่อ เมื่อฝนตกมาน้ำจะไหลลงสู่ชั้นใต้ดินโดยตรงผ่านธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดที่ทำขึ้นมา
ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด เป็นการเปิดผิวดินเพื่อที่จะสามารถใช้น้ำระดับผิวดินได้เลย โดยจะมีการขุดบ่อขนาดใหญ่แต่ขนาดเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่และความต้องการ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. เจาะพื้นบ่อเป็นหลุม 3 หลุมให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำเพื่อให้น้ำไหลลงชั้นหินอุ้มน้ำได้ดีและมีช่องสำหรับถ่ายเทอากาศจากโครงใต้ดินเมื่อถูกน้ำเข้าไปในแทนที่ 2.โดยน้ำที่นำมาเก็บนั้นมาจากหลายแหล่งน้ำด้วยกัน เช่น น้ำฝนหรือน้ำจากการทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ซึ่งเมื่อน้ำถูกเติมลงชั้นใต้หินอุ้มน้ำปริมาณมากพอน้ำก็จะโอนมาที่บ่อโดยอัตโนมัติ ซึ่งเกษตรกรสามารถสูบน้ำจากบ่อน้ำมาใช้ได้ทันที วิธีนี้จะช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องขุดเจาะหาแหล่งน้ำหรือสูบน้ำจากแหล่งน้ำไกลๆ ประหยัดพลังงาน และช่วยลดค่าใช้จ่ายในแต่ละปีหลายล้านบาท ประโยชน์ของธนาคารน้ำใต้ดิน 1. ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้เพราะช่วยให้น้ำซึมลงใต้ดินได้ดีขึ้น 2. ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งและสามารถสูบน้ำจากธนาคารน้ำใต้ดินใช้ได้ตลอดเวลา 3. แก้ปัญหาน้ำเค็มเพราะมวลน้ำเค็มจะมีน้ำหนักมากกว่าน้ำจืดจะนะน้ำเค็มจะอยู่ด้านล่าง 4. แก้ปัญหาน้ำสกปรก เพราะระบบน้ำแบบปิด จะช่วยกรองน้ำให้สะอาดขึ้น
นายก อบต.นาสี ยังกล่าวอีกว่า ระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิดยังสามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขังของชาวบ้านในเขตพื้นที่ ได้ทุกแห่ง โดยใช้วิธีเดียวกันกับการทำธนาคารน้ำใต้ดินแบบเปิด โดยใช้วัสดุ ที่เหลือใช้ภายในครัวเรือน เช่นขวดน้ำพลาสติกเปล่า ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว กรวด หิน ทรายในพื้นที่ที่หาง่าย โดยในแต่ละครัวเรือน สามารถสร้างได้ในวงเงินไม่เกินแห่งละ + 1,000 บาท ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลนาสี ได้สาธิตทำธนาคารใต้น้ำแบบปิด ที่ใช้ในครัวเรือน ป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณบ้าน จนปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลนาสีได้มีการสร้างบ่อน้ำลักษณะนี้แล้วประมาณ 80 แห่ง ช่วยลดต้นทุนในการก่อสร้างทางระบายน้ำแบบคอนกรีต ซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณเพราะการสร้างท่อระบายน้ำคอนกรีตยาว 100 เมตร ราคากว่า 200,000 บาท
จากนั้น เชิญผู้เข้าร่วมประชุม ชมสาธิตการสร้างธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ป้องกันน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎร หน้าศาลากลางหลังเก่า ที่มีน้ำท่วมขังเป็นประจำหลังฝนตกด้วย
ข้อมูลข่าวและที่มา
จำนวนผู้เข้าชม : 2692
ผู้สื่อข่าว : นายนุรัตน์ พรหมดี
Rewriter : วรัญญา นันตาแก้ว
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th